วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประวัติ Toyota ตระกูล Hilux

ประวัติ Toyota ตระกูล Hilux

ท่านคงทราบดีว่าเมื่อก่อนนั้น ISUZU เป็นเจ้าพ่อกระบะเมืองไทยแต่มีการพลิิกพัน เมื่อ Hilux Vigo เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานยอดขาย ISUZU เริ่มลดลงมาเรื่อยๆแต่ Hilux Vigo ยอดขายกับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกระบะที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย ณ ที่นี้เราจะบาบอก ประวัติ Hilux ทุก 
Gerenation กัน

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2511 - 2515)


โฉมแรกนี้ เริ่มผลิตครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Hilux ซึ่งมาจากคำว่า "highly-luxurious" แปลว่า หรูหราเหนือระดับ
โฉมแรกนี้มีรหัสตัวถัง RN10 มีขายในสหรัฐอเมริกา ด้วย แต่จะมีรถแบบเดียวคือแบบ 2 ประตู เกียร์ธรรมดา 4 สปีด ขับเคลื่อนล้อหลัง (สมัยนั้นยังไม่มีการนำเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์)
ส่วนเครื่องยนต์จะใช้ขนาด 1490 ซีซี 2R I4 ในช่วงแรก แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ไฮลักซ์ก็ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า คือ เริ่มจาก 1897 ซีซี 3R I4 85 แรงม้า, แล้วเปลี่ยนเป็น 1858 ซีซี 8R SOHC I4 97 แรงม้าใน พ.ศ. 2513, และเป็น 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้าใน พ.ศ. 2515

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2515 - 2521)


โฉมที่สองนี้ รหัสตัวถัง RN20 มีการปรับปรุงให้ไฮลักซ์มีความสะดวกสบายในห้องโดยสารมากขึ้น ใช้เครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในอเมริกา ที่ใช้เครื่องยนต์ 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้า ซึ่งต่อมาเครื่องยนต์นี้ถูกนำไปขายควบคู่เป็นทางเลือกกับเครื่อง 1587 ซีซี นอกอเมริกาใน พ.ศ. 2520
พ.ศ. 2518 ไฮลักซ์มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้มีขนาดใหญ่และสะดวกสบายขึ้นอีก มีการนำระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์เป็นครั้งแรก ใช้เครื่องยนต์ 2189 ซีซี 20R SOHC I4 96 แรงม้า ทำให้ผู้ซื้อในอเมริกัน ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า Pickup เป็นต้นกำเนิดของคำว่าปิคอัพ ซึ่งต่อมาคำนี้ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่แปลว่ารถกระบะ

Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2522 - 2526)

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ และเป็นโฉมที่มีการใช้เกียร์อัตโนมัติกับไฮลักซ์ โดยโฉมบุกเบิกนี้จะเป็นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 สปีด ทำให้ไฮลักซ์ได้เข้าสู่วงการรถเอสยูวี (SUV) และรถโตโยต้า โฟร์รันเนอร์ (4Runner) ก็เป็นรุ่นที่แตกหน่อออกมาจากไฮลักซ์โฉมนี้

Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2527 - 2531)

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตกระบะรุ่นที่นั่ง 2 แถว 2 ประตู (เอ็กซ์ตร้าแค็บ) ขายคู่กับที่นั่ง1 แถว 2 ประตูแบบดั้งเดิม (ซิงเกิ้ลแค็บ)พรีเซ็นเตอร์ โดย เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาหยุดการนำเข้าโตโยต้า ไฮลักซ์ อย่างไม่ทราบเหตุผล

Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2532 - 2541)

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีบอดี้แบบ 2 แถว 4 ประตู(ดับเบิ้ลแค็บ) เกียร์อัตโนมัติเพิ่มจาก 3 สปีด เป็น 4 สปีด และไฮลักซ์ได้รับรางวัล Truck of the Year (รถบรรทุกแห่งปี) ประจำปี พ.ศ. 2532
โฉมนี้ ประสบความสำเร็จดีมาก และผลิตอยู่นานถึง 9 ปี บริษัทโฟล์กสวาเก้น (Volkswagen) ได้เซ็นสัญญาดูแลและนำไฮลักซ์ (เฉพาะโฉมนี้) เข้าสู่ตลาดรถยนต์ในเยอรมนี ในชื่อ โฟล์กสวาเก้น ทาโร่ (Volkswagen Taro) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2540
ใน พ.ศ. 2538 โตโยต้าได้ผลิตรถกระบะรุ่น โตโยต้า ทาโคม่า (Toyota Tacoma) เพื่อส่งรถกระบะโตโยต้าเข้าตลาดอเมริกาอีกครั้งแทนรุ่นไฮลักซ์ที่จู่ๆ อเมริกาก็หยุดนำเข้าไปตั้งแต่ พ.ศ. 2529
ส่วนในประเทศไทย จะเริ่มโด่งดังในยุคของโฉมนี้ในชื่อ โตโยต้า ไฮลักซ์ ฮีโร่ (Toyota Hilux Hero) ในช่วง พ.ศ. 2533 และ โตโยต้า ไฮลักซ์ ไมท์ตี้-เอ็กซ์ (Toyota Hilux Mighty-X)

Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2541 - 2547)

sport crusier (Miner change Tiger)

Generation ที่ 7 (พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน)

โฉมนี้ เป็นที่รู้จักในประเทศไทยอย่างล้นหลามในชื่อ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ (Toyota Hilux Vigo) การออกแบบเบื้องต้นของวีโก้ถูกคัดลอกนำไปใช้ในการออกแบบรถ โตโยต้า อินโนวา (Toyota Innova) และ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (Toyota Fortuner)
ในประเทศไทย จะมีเครื่องยนต์ 5 ชนิด คือ เครื่องยนต์ ดีเซล 4 ชนิด และ เบนซิน 1 ชนิด ได้แก่
  1. เครื่องยนต์3000ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล VNTURBO INTERCOOLER
  2. เครื่องยนต์2500ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล VNTURBO INTERCOOLER
  3. เครื่องยนต์2500ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล TURBO INTERCOOLER
  4. เครื่องยนต์2500ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล TURBO
  5. เครื่องยนต์2700ซีซี VVT-i เบนซิน
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2_%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น