Hilux Vigo Champ
หลังจากที่ได้เขียน Blog ประวัติ Hilux กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาเขียนรีวิว Hilux Vigo Champกัน
Hilux Vigo Champ
รถที่รีวิวนี้เป็นรุ่น Toyota Hilux Vigo Smart Cab Prerunner 2.5G A/T (Navi)
ภายนอก นั้นยังคงเหมือนเดิม กับตัว Vigo Champ โฉมเมื่อปีก่อนทุกประการ โดยในรุ่น Prerunner Smartcab คันนี้ มีออปชั่นพื้นฐาน ครบไม่ว่าจะเป็น ไฟตัดหมอก, กันชนท้ายโครมเมียม, กาบบันได เพื่อสะดวกต่อการขึ้น-ลง, กระจกมองข้างโครเมียม พร้อมไฟเลี้ยวในตัว ล้ออัลลอย ขอบ 16” หุ้มยางขนาดใหญ่ 265/70/16 เอกลักษณ์ของ Hilux Vigo ทุกรุ่น นั่นคือ สูกู๊ปดักลม ติดอยู่บนฝากระโปรงขนาดใหญ่ ช่วยในการระบายความร้อน สู่ห้องเครื่องได้ดี และจุดที่สำคัญที่ได้เพิ่มเติมเข้ามานั่นคือ มีการติดตั้งกล้องมองหลัง บริเวณ ฝาปิดกระบะท้าย
ภายใน การตกแต่งโทนสีได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม คือ ตกแต่งสีดำล้วน และตกแต่งแบบ 2-Tone จุดปรับปรุงเพิ่มเติม คือ เครื่องเสียงที่ดีขึ้น รองรับการเชื่อมต่อ USB และ AUX in และหน้าจอ Navi ได้ปรับปรุงเพิ่มให้รองรับ Bluetooth ซึ่งได้เพิ่มสวิทช์คำสั่งบนพวงมาลัย ด้านขวาเข้ามา และเชื่อมต่อกับกล้องมองหลังทันทีที่เข้าเกียร์ R ส่วนระบบนำทาง ก็รองกับ App Smart G-Book อีกด้วย พร้อมปรับปรุงพวงมาลัย และหัวเกียร์เป็นแบบหุ้มหนัง ยกระดับการขับขี่ยภายในห้องโดยสารยิ่งขึ้น และออปชั่นความปลอดภัย อย่างถุงลมนิรภัยในคู่หน้า SRS และเข็มขัดนิรภัยแบบดึงกลับในทุกรุ่น
ภายนอก นั้นยังคงเหมือนเดิม กับตัว Vigo Champ โฉมเมื่อปีก่อนทุกประการ โดยในรุ่น Prerunner Smartcab คันนี้ มีออปชั่นพื้นฐาน ครบไม่ว่าจะเป็น ไฟตัดหมอก, กันชนท้ายโครมเมียม, กาบบันได เพื่อสะดวกต่อการขึ้น-ลง, กระจกมองข้างโครเมียม พร้อมไฟเลี้ยวในตัว ล้ออัลลอย ขอบ 16” หุ้มยางขนาดใหญ่ 265/70/16 เอกลักษณ์ของ Hilux Vigo ทุกรุ่น นั่นคือ สูกู๊ปดักลม ติดอยู่บนฝากระโปรงขนาดใหญ่ ช่วยในการระบายความร้อน สู่ห้องเครื่องได้ดี และจุดที่สำคัญที่ได้เพิ่มเติมเข้ามานั่นคือ มีการติดตั้งกล้องมองหลัง บริเวณ ฝาปิดกระบะท้าย
ภายใน การตกแต่งโทนสีได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม คือ ตกแต่งสีดำล้วน และตกแต่งแบบ 2-Tone จุดปรับปรุงเพิ่มเติม คือ เครื่องเสียงที่ดีขึ้น รองรับการเชื่อมต่อ USB และ AUX in และหน้าจอ Navi ได้ปรับปรุงเพิ่มให้รองรับ Bluetooth ซึ่งได้เพิ่มสวิทช์คำสั่งบนพวงมาลัย ด้านขวาเข้ามา และเชื่อมต่อกับกล้องมองหลังทันทีที่เข้าเกียร์ R ส่วนระบบนำทาง ก็รองกับ App Smart G-Book อีกด้วย พร้อมปรับปรุงพวงมาลัย และหัวเกียร์เป็นแบบหุ้มหนัง ยกระดับการขับขี่ยภายในห้องโดยสารยิ่งขึ้น และออปชั่นความปลอดภัย อย่างถุงลมนิรภัยในคู่หน้า SRS และเข็มขัดนิรภัยแบบดึงกลับในทุกรุ่น
ขุมพลังเครื่องยนต์ สำหรับในรุ่น 2.5 นี้ ยังคงมีสมรรถนะเหมือนเดิม ทุกกระเบียดนิ้ว รหัสเครื่องยนต์ดีเซล 2KD-FTV (VNT) แบบ 4 สูบ VN เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ 144 แรงม้า @3,400rpm มีแรงบิด 343Nm @1,600-2,800rpm ในรุ่น 2.5G และ 2.5E ABS นอกนั้น 2.5J และ 2.5E จะเป็น เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ธรรมดา มีแรงม้า 120 @3,600rpm และแรงบิด 325Nm @2,000rpm โดยคันที่เราได้ขับนี้ เป็นรุ่น 2.5G ซึ่งใช้เครื่อง VN เทอร์โบ
สำหรับ เครื่องยนต์ ของ Hilux Vigo Champ ตัว 2.5 VN เทอร์โบ นี้ การการขับขี่ใช้งาน ทั่วไป ในช่วงออกตัว ถือว่า ทำงานได้ดี ออกตัวได้ ไม่ขี้เหล่ เนื่องจากแรงบิดที่มีมาให้เท่ากับตัว 3.0 แถมมาตั้งแต่รอบต่ำ เริ่มตั้งแต่ 1,600rpm ขึ้นไป ถึง 2,800rpm การออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง เร่งทะยานในช่วงต้น จึงทำได้ดี แต่ทว่า การขับในจังหวะเร่งแซง เมื่อกระแทกคันเร่งลง รอบเครื่องตวัด ขึ้นไป ถึง 3,000rpm+ จะเริ่มรู้สึกว่า พละกำลัง เริ่มหน่วง ลง แล้ว จนเมื่อ เลย 3,500rpm จะรู้สึกได้ ชัดเจนว่า รอบตื้อแล้ว กำลังเครื่องหมด ซึ่งถ้าดูจากกราฟ จะไม่แปลกใจเลย เพราะ แรงบิด หมดตั้งแต่ก่อน 3,000rpm และดิ่งหัวลง ในขณะที่ แรงม้ายังลากได้ถึง 3,400rpm ที่สูงสุดของภูเขา หลังจากนั้น ม้าจะตกเหว ตายหมด ซึ่งการขับขี่เร่งแซง ถ้าจังหวะ ไม่ชัวร์จริงๆ แล้วไม่ได้ดู รอบเครื่อง ให้ดี หรือเลี้ยงรอบเครื่องอยู่ในจังหวะที่เหมาะสมก่อน เร่งแซง นั่น อาจเกิดอันตรายได้
ระบบส่งกำลัง สำหรับคันนี้เป็นเกียร์อัตโนมัติ 5 Speed ซึ่งได้ถูกเพิ่มเข้ามาใน Hilux Vigo Champ รุ่น Double Cab Prerunner โดยข้อดีของมันคือ ใช้น้ำมันเกียร์ Toyota Genuine AFT WS ซึ่งไม่ต้องเปลี่ยนเลยตลอดอายุการใช้งานของเกียร์
ด้านการใช้งานเกียร์อัตโนมัติ ตัวนี้ ถ้าเทียบกับรุ่น 4 Speed ก็ต้องยอมรับว่า เดินได้นุ่มนวลขึ้น แต่ถ้าเทียบกับรถยนต์เก๋ง หลายรุ่น ที่เป็น AT เช่นกัน ยังรู้สึกได้ถึงช่วงรอยต่อของเกียร์อยู่ บ้าง การตอบสนองในจังหวะ Kick Down ยังรู้สึกว่า มี Lag Time อยู่ และในหลายครั้งที่ Kick ลงไปแล้ว เกียร์ ไม่ตัดลงให้ หรือ ลงเพียง 1 เกียร์ ซึ่งยังเรียกพละกำลังแรงบิดได้ไม่เพียงพอ ในช่วงที่เราทำการไต่เขา จึงอาจต้องโยก ล๊อกเกียร์ให้เข้ามาที่ L2 แทน แต่เราก็ พบปัญหา เนื่องจาก เกียร์แบบขั้นบันได ที่ดูจะใช้งานยากไปหน่อย โดยเริ่มจาก ตบคันเกียร์เข้าหาตัว เพื่อลดมาเป็น D4 ดึงลง เป็น 3 จาก 3 ลงมาเป็น L2 ต้องตบมาซ้าย ก่อนที่จะดึงลง และจาก L2 ไป 1 ต้องดันเข้าไปทางซ้ายอีกครั้ง ซึ่งในหลายครั้งที่เราเข้าโค้งบนเขา ขณะที่สายตาต้องจับจ้องอยู่กับเส้นทางโค้งนั้น มือซ้ายก็ พยายามควานหาเกียร์ และพยายามละโยกเพื่อลดเกียร์ แต่ใน ช่วงแรกๆ ที่ยังไม่ชิน ก็ ยังคงมึนกับตำแหน่งล๊อคของเกียร์ อยู่ ซึ่งเราคิดว่า มันทำให้ใช้งานได้ค่อนข้างยาก อีกทั้ง ในจังหวะ ลงมาเกียร์ L2 เกียร์มันจะหน่วงลงค่อนข้างช้า เนื่องจากอัตราทดที่ค่อนข้างห่าง ซึ่งมีส่วนที่การเซ็ตเกียร์ให้ตอบสนองช้า มาจากการคำนวณเพื่อป้องกัน การเสียหายของเกียร์จากการ Shift Down ลงแล้วรอบยังสูงอยู่ แต่ทว่าเรากลับพบว่ามันเสียเวลา ยิ่งโค้งต่อ โค้ง ตัว S ด้วยแล้ว เราจึงอยากได้ เกียร์ที่เป็นโหมด M มาให้โยก + – เอาเลย ง่ายกว่า ไม่ต้องมานั่งจำเกียร์ว่าเข้าตำแหน่งใด แล้วโยกให้มันเข้าล๊อค เพราะค่อนข้างเสียเวลามาก ซึ่งเราคาดว่าใน Hilux โฉมใหม่ น่าจะมีโหมด M มาให้เล่นควบคุมเกียร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น